การตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์ข้าว
1. การสุ่มตัวอย่างและการแบ่งตัวอย่างเมล็ดพันธุ์
เพื่อให้ได้ตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ที่เป็นตัวแทนของเมล็ดพันธุ์ของกอง
หรือล็อตนั้นๆ นำเมล็ดพันธุ์จากการสุ่มตัวอย่างขั้นต้นมาคลุกเคล้ารวมกัน
ก่อนแบ่งตัวอย่างเมล็ดพันธุ์
ให้เป็นตัวอย่างนำส่งเพื่อใช้ในการตรวจสอบคุณภาพเมล็ดพันธุ์
2. การทดสอบความชื้น
เพื่อหาปริมาณน้ำที่มีอยู่ในเมล็ดพันธุ์ ทำได้ 2 วิธี คือ
1.วัดความชื้นโดยทางตรง
ด้วยการใช้ความร้อนอบไล่ความชื้นออกจากเมล็ด
2.วัดความชื้นโดยทางอ้อมด้วยการใช้เครื่องวัดความชื้น เป็นวิธีที่ใช้ในห้องปฏิบัติการของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว
3. การวิเคราะห์ความบริสุทธิ์ของเมล็ดพันธุ์
เป็นการวิเคราะห์องค์ประกอบตัวอย่างเมล็ดพันธุ์ด้านกายภาพ
โดยแบ่งเป็น 4 องค์ประกอบ
3.1 เมล็ดพันธุ์สุทธิ : เมล็ดข้าวที่มีเปลือกหุ้ม
หรือเปลือกหุ้มหลุดออกแล้ว
เมล็ดหักแตกที่มีขนาดใหญ่เกินครึ่งหนึ่ง และเมล็ดเป็นโรคที่ยังคงลักษณะเป็นเมล็ดข้าว **เมล็ดพันธุ์สุทธิจะนำไปทดสอบความงอก**
3.2 สิ่งเจือปน : เศษดิน หิน
ชิ้นส่วนพืช ฟาง แกลบ ชิ้นส่วนเมล็ดที่แตกหักมีขนาดครึ่งหนึ่ง
หรือเล็กกว่า เมล็ดที่เป็นโรคดอกกระถิน
3.3 เมล็ดอื่น : เมล็ดวัชพืช หรือเมล็ดพืชชนิดอื่นๆ
ที่ไม่ใช่พืชที่เป็นตัวอย่างเมล็ดพันธุ์
3.4 ข้าวพันธุ์อื่นปน : จำนวนเมล็ดข้าวพันธุ์อื่นที่ไม่ใช่พันธุ์ที่ระบุในตัวอย่างที่ตรวจวิเคราะห์
4. การทดสอบความงอก
เพื่อหาจำนวนเมล็ดที่สามารถงอกเป็นต้นอ่อนที่สมบูรณ์เมื่อให้สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
คือ ความชื้น ออกซิเจน อุณหภูมิ และแสง วิธีทดสอบความงอกมีหลายวิธี ในห้องปฏิบัติการของศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าว ใช้วิธีทดสอบความงอกบนกระดาษเพาะ (Top
of paper:TP)
การประเมินต้นอ่อน
ประเมินโครงสร้างสำคัญของต้นอ่อน
ตรวจนับความงอกครั้งแรกภายใน 7 วัน หลังวันเพาะ ประเมินต้นอ่อนเป็น 4 ประเภท
5. การทดสอบข้าวแดง
การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวของกองเมล็ดพันธุ์ข้าวกำหนดมาตรฐานข้าวแดง การทดสอบเพื่อหาเปอร์เซ็นต์ข้าวแดง
ต้องสุ่มตรวจในขั้นตอนการจัดซื้อจากเกษตรกรทุกราย
และสุ่มตรวจในขั้นตอนก่อนปรับปรุงสภาพและหลังปรับปรุงสภาพทุกล็อต น้ำหนักเมล็ดพันธุ์ที่ใช้เป็นตัวอย่างปฏิบัติการเพื่อทดสอบข้าวแดง
500 กรัม นำไปกระเทาะเปลือก เป็นข้าวกล้อง
นำมาตรวจด้วยตาเปล่า